วิสัยทัศน์  (Vision) 

       สพป. สระแก้ว เขต 1 เป็นองค์กรสมรรถนะสูง ด้วยวิถีคุณภาพ วิถีแห่งอนาคต
       ผู้เรียนคิดเป็น  สื่อสารได้ มีทักษะการดำรงชีวิตและคงอัตลักษณ์ความเป็นไทยในศตวรรษที่ 21
       SKW1 Vision “Excellenct  organization 
                      : new normal educate for quality learners 
                        as innovators, communicators , 
                        life skills development and Thai identity 
                        maintenance in 21st century society.”

พันธกิจ (Mission)

  1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
  2. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและการสื่อสารของผู้เรียนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
  3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน
  4. เสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้มีอัตลักษณ์ความเป็นไทยและมีความสมดุลทั้งทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  5. เสริมสร้างสิทธิและโอกาสทางการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
  6. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาสู่องค์กรสมรรถนะสูงมุ่งการบริการที่เป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและการสร้างนวัตกรรมการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะ คุณธรรม จริยธรรม มีความก้าวหน้าและมีความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการจัดหลักสูตรมุ่งสมรรถนะและหลักสูตรท้องถิ่น น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเสริมสร้างอัตลักษณ์ ความเป็นไทยให้ผู้เรียนมีความสมดุลทั้งทักษะวิชาการทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตและการจัดการเรียนรู้ Active learning สอดคล้องกับการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเชิงรุกและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย
กลยุทธ์ที่ 6 ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษา

จุดเน้นการดำเนินงาน

  1. จุดเน้นอ่านเขียนคิดคำนวณต้องได้  (Best Thai & Arithmetic  Literacy)
  2. จุดเน้นภาษาอังกฤษต้องดี (Good English Communication )
  3. จุดเน้น ICT ต้องเหนือชั้น (Superior in ICT )

โครงการสำคัญ (Flagship Project)

  1. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  2. พัฒนาทักษะอาชีพ

วัตถุประสงค์ที่เน้นผลลัพธ์ (OKRs )

  1. สถานศึกษาดีมีแรงบันดาลใจ
  2. เด็กปฐมวัยโดดเด่นเน้นพัฒนาการ
  3. สร้างสรรค์งานวิถีใหม่ วิถีอนาคต ตามทักษะแห่งศตวรรษ
  4. เด่นชัดสมรรถนะผู้เรียนด้านเขียนอ่าน
  5. ผสมผสานภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
  6. มุ่งมั่นสร้างอัตลักษณ์การศึกษาคุณภาพสูง

ตัวชี้วัด ประเด็นยุทธศาสตร์


ตัวชี้วัด ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
1. ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (Nation Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

3. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ
4.ร้อยละของสถานศึกษาที่ผู้เรียนสามารถสื่อสารอังกฤษได้ในระดับดีขึ้นไป
4.1 ร้อยละของผู้เรียนทุกระดับชั้นผ่านเกณฑ์การประเมินตามความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับดีขึ้นไป (เป้าหมายร้อยละ 30)
4.2 ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผู้เรียนรวมทุกระดับชั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ผ่านเกณฑ์
การประเมินความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับดีขึ้นไป (เป้าหมายร้อยละ 50)
5.ร้อยละของสถานศึกษาผ่านเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6.ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นฐาน
ตัวชี้วัดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างสิทธิและโอกาสทางการศึกษา
7.ร้อยละของผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
8.อัตราการออกกลางคันระดับการศึกษาภาคบังคับ
9.ระดับความสำเร็จของการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น
ตัวชี้วัดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
10.ระดับความสำเร็จของ ก.ต.ป.น. แบบมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการศึกษาทั้ง 4 งาน (งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบริหารงานบุคคลงานบริหารทั่วไป)ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดตามหลักการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA)
11.ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการอัตรากำลังครู

12.ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กด้วยการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ
“สระแก้วโมเดล”