วิสัยทัศน์ (Vision)
ผู้เรียนคิดเป็น สื่อสารได้ คงอัตลักษณ์ความเป็นไทย
พันธกิจ (Mission)
1. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและการสื่อสารของผู้เรียน
ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน
3. เสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้มีอัตลักษณ์ความเป็นไทยและมีความสมดุลทั้งทักษะวิชาการทักษะวิชาชีพและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. สร้างสิทธิและโอกาสทางการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
เป้าประสงค์ ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ มีทักษะกระบวนการคิดและสมรรถนะ การสื่อสารสอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย มีความสมดุลทั้งทักษะวิชาการ
ทักษะวิชาชีพและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 (เป้าหมายร้อยละ 50 ขึ้นไป ทั้ง 2 ระดับชั้น)
2. ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ
(Nation Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (เป้าหมายร้อยละ 50 ขึ้นไป )
3. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอน
และการบริหารจัดการ (เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง สถานศึกษาในสังกัดใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการจัดการเรียนการสอนทุกห้องเรียนอย่างมีคุณภาพและเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1 และมีการนิเทศ ติดตามให้ความช่วยเหลือการใช้สื่อเทคโนโลยี
เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการโดยทีมงานผู้มีความชำนาญการแบบเข้าถึงสถานศึกษาเพื่อแก้ปัญหา “ครูทิ้งห้องเรียน”
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และมีการอำนวยความสะดวกด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ตและสื่อซอฟแวร์รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปให้สถานศึกษาอย่างทั่วถึง
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหาร
จัดการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการ
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และมีการจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศให้สถานศึกษาอื่นในสังกัดได้นำไปประยุกต์ใช้
4. ร้อยละของสถานศึกษาที่ผู้เรียนสามารถสื่อสารอังกฤษได้ในระดับดีขึ้นไป
4.1 ร้อยละของผู้เรียนทุกระดับชั้นผ่านเกณฑ์การประเมินตามความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสารระดับดีขึ้นไป (เป้าหมายร้อยละ 30)
4.2 ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผู้เรียนรวมทุกระดับชั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับดีขึ้นไป (เป้าหมายร้อยละ 50)
5. ร้อยละของสถานศึกษาผ่านเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (เป้าหมาย ร้อยละ 50)
6. ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นฐาน
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน “ห้องเรียนคุณภาพ” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 และส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1 และกระจายอำนาจให้เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นฐาน
ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามเกณฑ์มาตรฐาน “ห้องเรียนคุณภาพ”
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประมศึกษาสระแก้ว เขต 1
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และส่งเสริมสนับสนุนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
( PLC : Professional Learning Community ) เพื่อการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญเพื่อขับเคลื่อนเกณฑ์มาตรฐาน “ห้องเรียนคุณภาพ” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประมศึกษาสระแก้ว
เขต 1 สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และสถานศึกษาในสังกัดมีครูผู้สอนที่สามารถจัดการเรียนการสอน
ตามเกณฑ์มาตรฐาน “ห้องเรียนคุณภาพ” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประมศึกษาสระแก้ว เขต 1 อย่างน้อย
“ครูมีผลงานผ่านเกณฑ์มาตรฐานห้องเรียนคุณภาพหนึ่งคน : หนึ่งเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา”
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งสามารถบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีห้องเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “ห้องเรียนคุณภาพ” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 อย่างน้อย “มีห้องเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานห้องเรียนคุณภาพหนึ่งห้องเรียน
ต่อหนึ่งสถานศึกษา”
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างสิทธิและโอกาสทางการศึกษา
เป้าประสงค์ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลายสายอาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า (เป้าหมาย ร้อยละ 60)
2. อัตราการออกกลางคันระดับการศึกษาภาคบังคับ (เป้าหมาย ไม่มีนักเรียนออกกลางคัน)
3. ระดับความสำเร็จของการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น (เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรูปแบบต่าง ๆของหน่วยงานและสถานศึกษาระดับอื่น
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1และสถานศึกษาทุกแห่งดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรูปแบบต่าง ๆ ของหน่วยงานและสถานศึกษา
ระดับอื่น
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน
และสถานศึกษาในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนรูปแบบต่าง ๆของหน่วยงานและสถานศึกษาระดับอื่น
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และมีภาคส่วนอื่นให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการดำเนินงาน
ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรูปแบบต่าง ๆ
ของหน่วยงานและสถานศึกษาระดับอื่น
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และนักเรียนที่เป็นเด็กด้อยโอกาสและเสี่ยงออกกลางคัน
ได้รับการดูแลให้เรียนจนสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีรูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ได้รับการยอมรับและเป็นต้นแบบ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
เป้าประสงค์ จัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
1. ระดับความสำเร็จของ ก.ต.ป.น.แบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน
(งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารทั่วไป) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษาในสังกัด ตามหลักการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) (เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง ก.ต.ป.น. มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1 และก.ต.ป.น. มีส่วนร่วมจัดทำโครงการในการบริหารจัดการศึกษา
ทั้ง 4 งานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และก.ต.ป.น. มีส่วนร่วมดำเนินการโครงการในการบริหาร
จัดการศึกษาทั้ง 4 งานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และก.ต.ป.น. มีส่วนร่วมติดตามประเมินผลโครงการ
ในการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และก.ต.ป.น. มีส่วนร่วมแสดงปรับปรุงแก้ไขโครงการ
ในการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด
2. ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการอัตรากำลังครู (เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง เกลี่ยอัตราว่างให้สถานศึกษาตามความขาดแคลนและแนวปฏิบัติของราชการ
ระดับ 2 หมายถึง มีระดับ 1 และบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งว่างมีเงินอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ส่งผล
กระทบการสอน
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และกำกับดูแลให้สถานศึกษามีครูผู้สอนกลุ่มสาระวิชาหลัก
5 สาระเป็นลำดับแรก
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และกำกับดูแลให้สถานศึกษามีอัตรากำลังครูลดลงเนื่องจาก
ครูเกษียณอายุราชการหรือเหตุผลความจำเป็นอื่น สามารถบริหารจัดการเรียนการสอนได้ย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดประสิทธิผล
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และมีแนวทางการให้ความช่วยเหลือสสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากรอการบรรจุแต่งตั้งหรือมีความล่าช้า เป็นต้น
3. ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก (เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีแผนควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียน
ตั้งแต่ 60 คนลงมารวมทั้งโรงเรียนอื่นที่มีเหตุผลความจำเป็นต้องกำหนดไว้ในแผนควบรวม
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1 และโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่สามารถแต่งตั้งผู้อำนวยการโรงเรียน
ได้ตามมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐและแนวปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้รับการกำกับ ดูแลส่งเสริมสนับสนุนให้บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนระหว่าง 61-120 คน
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสอดคล้อง
กับบริบท
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และโรงเรียนขนาดเล็กทุกโรงเรียนได้รับการนิเทศ ติดตาม
และส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนการสอนผ่านระบบดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการคัดเลือกนวัตกรรม
และผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดแลมีการเผยแพร่หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระหว่างโรงเรียนในสังกัดหรือโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอื่น
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมจัดการเรียนรู้แบบ Active learning ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเสริมสร้างอัตลักษณ์ ความเป็นไทยให้ผู้เรียนมีความสมดุลทั้งทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต
2. พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่สองของผู้เรียนทุกระดับชั้น
3. พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่าน เขียนและคิดคำนวณของผู้เรียนทุกระดับชั้น
4. ส่งเสริมการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพและการจัดการศึกษา
เพื่อการมีงานทำ เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงของชีวิต
5. ส่งเสริมการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเชิงรุกของทุกภาคส่วนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
ทางการศึกษา
6. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน
จุดเน้นการดำเนินงาน
1. จุดเน้นอ่านเขียนคิดคำนวณต้องได้ (Best Thai & Arithmetic Literacy)
2. จุดเน้นภาษาอังกฤษต้องดี (Good English Communication )
3. จุดเน้น ICT ต้องเหนือชั้น (Superior in ICT )
โครงการสำคัญ (Flagship Project)
“ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” และ “พัฒนาทักษะอาชีพ”
ค่านิยมองค์กร (Core Values)
“คิดสร้างสรรค์ บริการดี มีคุณธรรม ทำงานเป็นทีม”คติพจน์ (Motto) “เรารักกัน เหนือชั้น ทันสมัย”