วิสัยทัศน์ (Vision)
ผู้เรียนคิดเป็น สื่อสารได้ คงอัตลักษณ์ความเป็นไทย
พันธกิจ (Mission)
-
ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและการสื่อสาร
ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
-
พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน
-
เสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้มีอัตลักษณ์ความเป็นไทยและมีความสมดุลทั้งทักษะวิชาการ
ทักษะวิชาชีพและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-
สร้างสิทธิและโอกาสทางการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
-
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
ค่านิยมองค์กร (Core Value)
คิดสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีม บริการดี มีคุณธรรม
ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
เป้าประสงค์ ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ มีทักษะกระบวนการคิดและสมรรถนะการสื่อสารสอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย
มีความสมดุลทั้งทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด
-
ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 (เป้าหมายร้อยละ 50 ขึ้นไป ทั้ง 2 ระดับชั้น)
-
ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (Nation Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (เป้าหมายร้อยละ50 ขึ้นไป)
-
ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ(เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง ทุกห้องเรียนมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้พร้อมใช้สื่อเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมเพื่อการจัดการเรียนการสอนและทุกสถานศึกษาพร้อมใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1 และมีการนิเทศ ติดตามให้ความช่วยเหลือการใช้สื่อเทคโนโลยี
เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการโดยทีมงานผู้มีความชำนาญการแบบเข้าถึงสถานศึกษาเพื่อแก้ปัญหา “ครูทิ้งห้องเรียน”
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2และมีการอำนวยความสะดวกด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ตและสื่อซอฟแวร์รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปให้สถานศึกษาอย่างทั่วถึง
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการศึกษา
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และมีการจัดการความรู้วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศให้สถานศึกษาอื่นได้นำไปประยุกต์ใช้
-
ร้อยละของสถานศึกษาที่ผู้เรียนสามารถสื่อสารอังกฤษได้ในระดับดีขึ้นไป
4.1 ร้อยละของผู้เรียนทุกระดับชั้นผ่านเกณฑ์การประเมินตามความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับดีขึ้นไป(เป้าหมายร้อยละ 30)
4.2 ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผู้เรียนรวมทุกระดับชั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระดับดีขึ้นไป (เป้าหมายร้อยละ 50)
-
ร้อยละของสถานศึกษาผ่านเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เป้าหมายร้อยละ50)
-
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างสิทธิและโอกาสทางการศึกษา
เป้าประสงค์ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ
ตัวชี้วัด
-
ร้อยละของผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า (เป้าหมาย ร้อยละ 60)
-
อัตราการออกกลางคันระดับการศึกษาภาคบังคับ (เป้าหมาย ไม่มีนักเรียนออกกลางคัน)
-
ระดับความสำเร็จของการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น(เป้าหมายระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง มีแนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษารูปแบบต่าง ๆของหน่วยงานและสถานศึกษาระดับอื่น
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1และสถานศึกษาทุกแห่งดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
นักศึกษารูปแบบต่าง ๆระดับอื่น
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและสถานศึกษาในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษารูปแบบต่าง ๆระดับอื่น
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และมีภาคส่วนอื่นให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษารูปแบบต่าง ๆ ระดับอื่น
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และนักเรียน นักศึกษาที่เป็นเด็กด้อยโอกาสและเสี่ยงออกกลางคันได้รับการดูแลให้เรียนจนสำเร็จการศึกษา
ภายในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
เป้าประสงค์ จัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
-
ระดับความสำเร็จของระบบการบริหารจัดการเพื่อการระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมทางการศึกษา (เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง หน่วยงานและสถานศึกษามีแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของทุกภาคส่วน
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1และหน่วยงานและสถานศึกษามีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมทางการศึกษา
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และหน่วยงานและสถานศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50ได้รับทรัพยากรและการมีส่วนร่วมทางการศึกษา
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3และหน่วยงานและสถานศึกษาบริหารงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4และหน่วยงานและสถานศึกษาบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBBS)
-
ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการอัตรากำลังครู (เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง เกลี่ยอัตราว่างให้โรงเรียนตามความขาดแคลน
ระดับ 2 หมายถึง มีระดับ 1 และบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งว่าง มีเงินอย่างรวดเร็วไม่ให้กระทบการสอน
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และกำกับดูแลให้โรงเรียนมีครูกลุ่มสาระวิชาหลัก 5 สาระเป็นลำดับแรก
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และกำกับดูแลให้โรงเรียนขนาดเล็กบริหารจัดการรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการจัดการเรียนการสอน
มีคุณภาพ เช่น การสอนคละชั้นเป็นต้น
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และกำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรวมและเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นต้น
-
ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก (เป้าหมาย ระดับ 5)
คำอธิบาย
ระดับ 1 หมายถึง โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนตั้งแต่ 30 คนลงมามีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ระดับ 2 หมายถึง มีตามระดับ 1 และโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนระหว่าง 31-60 คนมีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ระดับ 3 หมายถึง มีตามระดับ 2 และโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนระหว่าง 61-80 คนมีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
ระดับ 4 หมายถึง มีตามระดับ 3 และโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนระหว่าง 81-120 คน มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50/สพป.มีนวัตกรรมการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จ
ระดับ 5 หมายถึง มีตามระดับ 4 และ สพป.มีการเผยแพร่นวัตกรรมและผลการดำเนินงานภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษาอื่นและผู้สนใจทั่วไป
กลยุทธ์
-
ส่งเสริมจัดการเรียนรู้แบบ Active learning ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเสริมสร้าง
อัตลักษณ์ความเป็นไทยให้ผู้เรียนมีความสมดุลทั้งทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิต
-
พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่สองของผู้เรียนทุกระดับชั้น
-
พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่าน เขียนและทักษะการคิดของผู้เรียนทุกระดับชั้น
-
ส่งเสริมการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพและการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ
เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงของชีวิต
-
ส่งเสริมการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
-
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน
จุดเน้นการดำเนินงาน
-
อ่านเขียนต้องได้ (Best Thai Literacy)
-
ภาษาอังกฤษต้องดี (Good English Communication)
-
ไอซีทีต้องเหนือชั้น (Superior in ICT)